วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง

ตัวชี้วัด
 ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน (ง 3.1 ม. 2/4)
 สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1.ซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วยระบบปฏิบัติการ โปรแกรมแปลภาษา  และโปรแกรมอรรถประโยชน์
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป และซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
3.ใช้ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน เช่น  บีบอัด ขยาย โอนย้ายข้อมูล  ตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์
4.ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการในการทำงาน 



วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของซอฟต์แวร์


ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือการดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่นรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปรความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลเป็นหน้าจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์จัดการาข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software )
  อ่านเพิ่มเติม

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน

   ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ การทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในงานเฉพาะด้านซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบ ผู้ใช้จำเป็นต้องเลือกหาซอฟต์แวร์ให้ตรงตามความต้องการนั้นๆโดยเฉพาะเช่น การจัดพิมพ์รายงาน นำเสนองาน จัดทำบัญชี ตกแต่งภาพ ออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น  นอกจากนั้นต้องคำนึงถึงงบประมาณในการจัดหาซอฟแวร์มาใช้ด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่เพียงใด ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งเป็น2ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปและซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน  อ่านเพิ่มเติม


ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน

ซอฟต์แวร์ระบบ

คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
 อ่านเพิ่มเติม


ความหมายและหน้าที่ของซอฟต์แวร์


คำอธิบาย: http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/picture/ball.gif   ความหมายและหน้าที่ของซอฟต์แวร์
คำอธิบาย: http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/picture/111.gif  ความหมายของซอฟต์แวร์และหน้าที่ของซอฟต์แวร์
          ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง รายละเอียดของชุดคำสั่ง (Instructions) ที่เขียนขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอนเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
คำอธิบาย: http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/picture/111.gif  หน้าที่ของซอฟต์แวร์ต่อการบริหารองค์กร มีดังนี้
             จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรภายในองค์กร
             เป็นเครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบของทรัพยากรที่มีต่อคู่แข่งขัน
             เป็นสื่อกลางระหว่างองค์กรและการเก็บสารสนเทศภายในหน่วยงาน
คำอธิบาย: http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/picture/111.gif ประเภทของซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
             - ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
             - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
   อ่านเพิ่มเติม






ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้

ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

         ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น        ประเภทของซอฟต์แวร์  ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ประเภท คือ
1.  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
2.  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software)  อ่านเพิ่มเติม